ระบบติดตามยุทธศาสตร์ (SWU-SAP)
เข้าสู่ระบบ
โครงการคณะมนุษยศาสตร์
ย้อนกลับ
พิมพ์
ลบโครงการ ติดต่อส่วนแผนและยุทธศาสตร์
ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการสัมมนาปริญญานิพนธ์ด้านสารสนเทศศึกษา
ปีงบประมาณ
2568
ความสอดคล้องแผนยุทธศาสตร์
แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570
P1-13 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน Active learning
P1-32 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิต มศว ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (SWU DNA) ครอบคลุม 7 Competency และสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (SWU SMART STUDENTS)
งบประมาณสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์
P1-32
ความสอดคล้อง SDG
ดูเพิ่มเติม
งบประมาณ
แหล่งงบประมาณ
ประเภทงบประมาณ
งบประมาณที่ได้รับ
งบประมาณที่ใช้จริง
รวม
ใช้จริง
ไตรมาส 1
ไตรมาส 2
ไตรมาส 3
ไตรมาส 4
{{ budget.BudgetSource.budget_source }}
{{ budget.BudgetSource.title }}
{{ budget.expense | numeral }}
เลือกแหล่งงบประมาณ
{{ source.BudgetSource.budget_source }} - {{ source.BudgetSource.title }}
รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม
สถานะการดำเนินโครงการ
แล้วเสร็จ
กำลังดำเนินการ
ชะลอ
ไม่ดำเนินการ
ยกเลิก
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ตั้งแต่
ถึง
วัตถุประสงค์
1 เพื่อส่งเสริมให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจ และได้รับมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับการเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่ระดับนานาชาติตลอดจนมีความพร้อมในการทาวิจัย 2 เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้นิสิตมีหัวข้อวิจัย/หัวข้อการศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระเชิงวิชาการได้อย่างรวดเร็ว ภายในกรอบระยะเวลาที่กาหนด และเกิดความกระตือรือร้นที่จะส่งบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในระดับนานาชาติให้มากขึ้น 3 เพื่อติดตามความก้าวหน้าของนิสิตในการวิจัย ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการทำวิจัยและการเตรียมความพร้อมในการเผยแพร่งานวิจัยในระดับนานาชาติ รวมถึงการใช้เครื่องมือปัญญาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือช่วย เพื่อให้นิสิตสามารถทำงานวิจัยให้มีความก้าวหน้าต่อไปได้และมองเห็นโอกาสที่จะสามารถส่งบทความวิจัยไปตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ 4 เพื่อนำผลประเมินการจัดโครงการไปพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้นิสิตมีทักษะที่พึงประสงค์ดีขึ้น
ตัวชี้วัดโครงการ
เพิ่มตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ
บุคลากรสายวิชาการ บุคลากรสายปฏิบัติการ นิสิตบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา รหัส 64-67 บุคคลภายนอก (วิทยากร)
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เป้าหมาย
คน เข้าร่วมจริง
คน
ร้อยละ {{ projectMaster.attendee_percent | numeral }}
สรุปผลดำเนินงาน
- จัดกิจกรรมบรรยายให้กับนิสิต โดยมุ่งเน้นที่ประเด็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่ระดับนานาชาติ รวมถึงเทคนิคและการใช้เครื่องมือ AI เพื่อช่วยเหลือในการทาวิจัยอย่างมีจริยธรรม - จัดกิจกรรมเพื่อให้นิสิตค้นหาหัวข้อที่ตนเองสนใจและพัฒนาเค้าโครงวิจัยเพื่อพัฒนาต่อยอดในการทาปริญญานิพนธ์/สารนิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระเชิงวิชาการต่อไป โดยมีคณาจารย์เป็นผู้ให้คาแนะนา รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับรุ่นพี่ - จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับนิสิตทุกชั้นปี เพื่อให้นิสิตแต่ละรุ่นได้มีโอกาสทำความรู้จักกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทั้งด้านการเรียน การทำวิจัย ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น สำหรับกลุ่มผู้เรียนด้วยกันเอง ผลการประเมินการจัดโครงการจะถูกนาไปรายงานผลในการประชุมหลักสูตรประจำเดือนพฤษภาคม 2568 ซึ่งในภาพรวมทั้งคณาจารย์และนิสิตสามารถนำความรู้และข้อมูลจากการบรรยายของวิทยากรไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน การให้คำปรึกษางานวิจัยต่อได้ เช่น การใช้เครื่องมือ Generative AI ต่าง ๆ ไปใช้กับงานวิจัย และการเรียนการสอนในทุกรายวิชา ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์และนิสิตได้เรียนรู้ทักษะการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ๆ เช่น การใช้ AI ช่วยในการทบทวนวรรณกรรมการสรุปเนื้อหาจากงานวิจัยช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น และเน้นย้ำการตรวจสอบแหล่งที่มาและข้อเท็จจริงของข้อมูลที่ได้รับ การใช้ AI อย่างมีจริยธรรมและ ข้อควรระวังที่ต้องพิจารณา เช่น ความถูกต้องของข้อมูล แหล่งที่มา ความน่าเชื่อถือ และจริยธรรมในการใช้ข้อมูล นอกจากนี้ยังได้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทางเลือกในการเผยแพร่ผลงานวิจัย นอกจากการตีพิมพ์บทความ เช่น การนาเสนอผลงานในการประชุมวิชาการในระดับนานาชาติ ซึ่งหลายเวทีมักมีวารสารวิชาการของตนเอง ทำให้ผู้เข้าร่วมมีโอกาสได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ผลงานเพิ่ม มากขึ้น วิธีการคัดเลือกวารสารที่จะใช้เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิชาการ เป็นประโยชน์สาหรับนิสิตในการพิจารณาวารสารที่เหมาะกับงานวิจัยของตนเอง การตรวจสอบวารสารล่าเหยื่อ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการคัดเลือกวารสารที่มีคุณภาพก่อนตีพิมพ์ เพื่อนาไปใช้ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ผลงานเผยแพร่ด้วย
ปัญหา-อุปสรรค
สถานที่ที่จัดโครงการ เดิมใช้ห้อง 253 แต่มีปัญหาเครื่องปรับอากาศ และถึงแม้จะมีบุคลากรมาช่วยแก้ไขแล้ว ยังไม่สามารถทำงานได้ดี ทำให้ผู้เข้าร่วมเกิดความเหนื่อยล้าจากสภาวะอากาศที่ร้อนมากในเดือนเมษายน จึงได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยการ ย้ายห้องสถานที่จัดโครงการในช่วงบ่าย
ข้อเสนอแนะ
พิจารณาหัวข้อการบรรยายใหม่และวิทยากรในลักษณะนี้ เพื่อให้นิสิตได้อัปเดตความรู้ เท่าทันกระแสของยุคสมัย และนำไปใช้ได้จริง โดยยังคงมีกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์แต่อาจเพิ่มเวลาให้มากขึ้น ตลอดจนอาจพิจารณาการจัดโครงการนอกสถานที่ เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของนิสิตที่ให้ข้อมูลป้อนกลับ
เอกสารแนบ
เพิ่มเอกสารอ้างอิง
ผู้รายงานผล
ญานิศา ลากูล
โทร
16507
วัน/เวลาแก้ไขล่าสุด
6 พฤษภาคม 2568 11:02