ระบบติดตามยุทธศาสตร์ (SWU-SAP)
เข้าสู่ระบบ
โครงการคณะมนุษยศาสตร์
ย้อนกลับ
พิมพ์
ลบโครงการ ติดต่อส่วนแผนและยุทธศาสตร์
ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการสร้างสรรค์ปันสุขด้วยวรรณกรรมสำหรับเด็กในโลกยุคใหม่
ปีงบประมาณ
2568
ความสอดคล้องแผนยุทธศาสตร์
แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570
P1-13 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน Active learning
P1-32 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิต มศว ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (SWU DNA) ครอบคลุม 7 Competency และสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (SWU SMART STUDENTS)
P1-34 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการสนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรนิสิตมีความเข้มแข็ง มีภาวะผู้นำและมีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัย
P3-06 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพเด็กและเยาวชนตามความถนัดและความสามารถของพหุปัญญา 9 ด้าน มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และมีความรอบรู้ด้านสุขภาวะองค์รวม
P3-15 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการบูรณาการการบริการวิชาการเพื่อสังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน
P3-16 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการบูรณาการการบริการวิชาการเพื่อสังคมกับการวิจัย
P3-18 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการบูรณาการการบริการวิชาการเพื่อสังคมแบบบูรณาการข้ามศาสตร์
งบประมาณสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์
P3-15
ความสอดคล้อง SDG
ดูเพิ่มเติม
งบประมาณ
แหล่งงบประมาณ
ประเภทงบประมาณ
งบประมาณที่ได้รับ
งบประมาณที่ใช้จริง
รวม
ใช้จริง
ไตรมาส 1
ไตรมาส 2
ไตรมาส 3
ไตรมาส 4
{{ budget.BudgetSource.budget_source }}
{{ budget.BudgetSource.title }}
{{ budget.expense | numeral }}
เลือกแหล่งงบประมาณ
{{ source.BudgetSource.budget_source }} - {{ source.BudgetSource.title }}
รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม
สถานะการดำเนินโครงการ
แล้วเสร็จ
กำลังดำเนินการ
ชะลอ
ไม่ดำเนินการ
ยกเลิก
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ตั้งแต่
ถึง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ในด้านภาษาและกล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยประยุกต์สื่อสร้างสรรค์ซึ่งเป็นผลผลิตของนิสิตรุ่นพี่สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก 2. นิสิตได้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวรรณกรรมสำหรับเด็กเพื่อจัดกิจกรรมในการพัฒนาเด็ก 3. นิสิตได้รับประสบการณ์ตรงในการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็ก 4. นำผลประเมินการจัดโครงการไปพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้นิสิตมีทักษะที่พึงประสงค์ดีขึ้น
ตัวชี้วัดโครงการ
เพิ่มตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ
คณาจารย์ นิสิต ครูและผู้ปกครอง นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เป้าหมาย
คน เข้าร่วมจริง
คน
ร้อยละ {{ projectMaster.attendee_percent | numeral }}
สรุปผลดำเนินงาน
จัดบรรยายโดยวิทยากรอาจารย์อ้อมขวัญ เวชยชัย ผู้ก่อตั้ง Cream Bangkok ณ โรงแรมครีม (CREAM Bangkok) ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 บรรยายหัวข้อ มหัศจรรย์กิจกรรมและสื่อจากวรรณกรรมสำหรับเด็กในการพัฒนาเด็ก และมหัศจรรย์กิจกรรมและสื่อจากวรรณกรรมสำหรับเด็กประเภทสารคดีในการพัฒนาเด็ก นิสิตแต่ละกลุ่มฝึกปฏิบัติการทากิจกรรมต่อเนื่องจากการเล่านิทานและรับคำแนะนำจากวิทยากร นิสิตผึกปฏิบัติการใช้องค์ประกอบของวรรณกรรมเพื่อปรับเนื้อหา/รูปแบบ/กิจกรรมจากนิทาน คิดกิจกรรมจากนิทานที่ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและกล้ามเนื้อมัดเล็ก คัดเลือกและใช้สื่อผ้าเพื่อพัฒนาเด็ก วันที่ 21 และ 28 กุมภาพันธ์ 2568 นิสิตบริการวิชาการและเก็บข้อมูลเพื่อสร้างสื่อสารคดีและสาระบันเทิงสำหรับเด็ก นำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฟังบรรยาย และฝึกปฏิบัติทั้งจากวิทยากรและจากการเรียนเนื้อหาในรายวิชามาประยุกต์ใช้ โดยผลที่ได้จากโครงการจะนำไปใช้ในการพัฒนานิสิตในรายวิชา วด213 การอ่านและวิเคราะห์วรรณกรรมสำหรับเด็ก เพื่อให้นิสิตเรียนรู้องค์ประกอบสำคัญและความตระหนักถึงความสำคัญของวรรณกรรมสำหรับเด็กที่มีต่อเด็ก รวมทั้งวิธีการวิเคราะห์เข้าใจองค์ประกอบของวรรณกรรมเพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์วรรณกรรมให้เด็กใหม่ได้ ซึ่งจะทำให้ทิศทางในการเรียนรู้เรื่องดังกล่าวชัดเจนและนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในบริบทจริงมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนานิสิตในรายวิชา วด232 สารคดีสำหรับเด็ก โดยบูรณาการประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการกับประเภทการเขียนสารคดี เพื่อให้นิสิตได้ข้อมูลประสบการณ์ กลวิธีในการนาเสนอสารคดี การเก็บข้อมูลเพื่อสร้างสรรค์งานสารคดี และทักษะการเขียนสารคดีจากการเรียนรู้ในบริบทจริง
ปัญหา-อุปสรรค
เนื่องจากช่วงการเปิด-ปิดภาคการศึกษาไม่ตรงกัน การจัดกิจกรรมทั้ง 2 ครั้งจึงใช้เวลาไล่เลี่ยกัน ทำให้ผลของพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและภาษาในการจัดกิจกรรมทั้งสองครั้งมีความใกล้เคียงกัน หากสามารถจัดกิจกรรมโดยมีการเว้นช่วงเวลา จะสามารถเห็นพัฒนาการของเด็กจากการจัดกิจกรรมและการพัฒนารูปแบบในการจัดกิจกรรมได้ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ผลงานสารคดีและสาระบันเทิงของนิสิตที่บูรณาการกับรายวิชายังไม่สามารถเผยแพร่และทดลองกับกลุ่มเป้าหมายได้เนื่องจากอยู่ในช่วงปิดภาคการศึกษา ซึ่งทางโรงเรียนจะเปิดภาคการศึกษาในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ทางมหาวิทยาปิดภาคการศึกษาทาให้ไม่สามารถบูรณาการคะแนนในส่วนการทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายในรายวิชาได้
ข้อเสนอแนะ
- ปรับปรุงเวลาในการสร้างสรรค์ผลงานสารคดีและสาระบันเทิงในรูปแบบหนังสือภาพ เนื่องจากเวลาในการสร้างสรรค์ผลงานที่กำหนดในโครงการเหมาะสมกับการสร้างสรรค์ผลงานรูปแบบหนังสือภาพรายกลุ่ม หรือการสร้างผลงานรายบุคคลในรูปแบบบันทึกประสบการณ์ - ปรับปรุงเวลาและกระบวนการในการเตรียมตัวนิสิตก่อนจัดกิจกรรมเพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมได้ราบรื่นยิ่งขึ้น และพัฒนาการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับทักษะย่อยที่ต้องการพัฒนาเพิ่มขึ้น และเก็บรายข้อมูลในการพัฒนาทางทักษะที่ต้องการของเด็กในรายละเอียดที่เพิ่มขึ้น
เอกสารแนบ
รายงานผลโครงการสร้างสรรค์ปันสุขด้วยวรรณกรรมสำหรับเด็กในโลกยุคใหม่.pdf
เพิ่มเอกสารอ้างอิง
ผู้รายงานผล
ญานิศา ลากูล
โทร
16507
วัน/เวลาแก้ไขล่าสุด
17 เมษายน 2568 14:59