ระบบติดตามยุทธศาสตร์ (SWU-SAP)
เข้าสู่ระบบ
โครงการคณะมนุษยศาสตร์
ย้อนกลับ
พิมพ์
ลบโครงการ ติดต่อส่วนแผนและยุทธศาสตร์
ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการบริการวิชาการ "ภาษาไทยสู่สังคม"
ปีงบประมาณ
2567
ความสอดคล้องแผนยุทธศาสตร์
แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570
P1-31 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิต มศว ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (SWU DNA) ครอบคลุม 7 Competency และสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (SWU SMART STUDENTS)
P1-34 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการสนับสนุนและเสริมสร้างนิสิตจิตอาสา และส่งเสริมให้นิสิตบูรณาการองค์ความรู้สู่การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์แก่สังคม
P1-37 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม/แนะแนว/การประกอบอาชีพสำหรับนิสิต
P3-02 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาวะองค์รวม (กาย/ใจ/ปัญญา/สังคม) ตามแผนแม่บทมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม
P3-06 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพเด็กและเยาวชนตามความถนัดและความสามารถของพหุปัญญา 9 ด้าน มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และมีความรอบรู้ด้านสุขภาวะองค์รวม
P3-14 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการบูรณาการการบริการวิชาการเพื่อสังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน
P3-18 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาเครือข่าย/ความร่วมมือภายนอกมหาวิทยาลัยด้านพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคม
งบประมาณสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์
P3-14
ความสอดคล้อง SDG
ดูเพิ่มเติม
งบประมาณ
แหล่งงบประมาณ
ประเภทงบประมาณ
งบประมาณที่ได้รับ
งบประมาณที่ใช้จริง
รวม
ใช้จริง
ไตรมาส 1
ไตรมาส 2
ไตรมาส 3
ไตรมาส 4
{{ budget.BudgetSource.budget_source }}
{{ budget.BudgetSource.title }}
{{ budget.expense | numeral }}
เลือกแหล่งงบประมาณ
{{ source.BudgetSource.budget_source }} - {{ source.BudgetSource.title }}
รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม
สถานะการดำเนินโครงการ
แล้วเสร็จ
กำลังดำเนินการ
ชะลอ
ไม่ดำเนินการ
ยกเลิก
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ตั้งแต่
ถึง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อบริการทางวิชาการแก่หน่วยงานท้องถิ่นและชุมชนบ้านละโว้ อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา โดยสังเคราะห์มรดกวัฒนธรรมเรื่อง นางละโว้ ให้ชุมชนสามารถน าไปในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนได้ 2. เพื่อให้นิสิตพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านภาษา-วัฒนธรรม จากการปฏิบัติกิจกรรมสัมพันธ์เพื่อสังคม 3. นำผลประเมินการจัดโครงการไปพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้นิสิตมีทักษะที่พึงประสงค์ดีขึ้น
ตัวชี้วัดโครงการ
เพิ่มตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ
คณาจารย์ นิสิตชั้นปีที่ 2-4 เจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษา/ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวัฒนธรรมฝ่ายการศาสนา/ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการปกครองท้องถิ่น/ ชุมชนท้องถิ่น ชุมชนบ้านละโว้ จังหวัดนครราชสีมา
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เป้าหมาย
คน เข้าร่วมจริง
คน
ร้อยละ {{ projectMaster.attendee_percent | numeral }}
สรุปผลดำเนินงาน
เป็นการอบรมความรู้เรื่องมรดกวัฒนธรรม นางละโว้ ชาวชุมชนจะได้ประโยชน์จากการอบรม ดังนี้ 1) ได้ทราบสาระสำคัญคือข้อสันนิษฐานที่มาของชื่อละโว้ นางละโว้กับวรรณกรรมท้องถิ่น เรื่องปาจิต-อรพิม ซึ่งเป็น วรรณกรรมท้องถิ่นที่เชื่อว่ามีจุดกำเนิดและแพร่หลายในเขตพื้นที่นครราชสีมาและบุรีรัมย์ 2) ชาวชุมชนบ้านละโว้ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเรียบเรียงประวัตินางละโว้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นใน หมู่บ้านเมื่อราว 100 กว่าปีมาแล้ว ชาวบ้านในยุคนั้นได้ขุดพบวัตถุโบราณรูปเคารพสตรี ชาวบ้านเรียกชื่อว่า นางละโว้ การพบรูปเคารพเกิดขึ้นราว 80-109 ปีมาแล้ว เป็นรูปเคารพสตรี แกะจากหินศิลปะขอม รูปเคารพที่พบมีจำนวน 3 องค์ การที่ชาวบ้านละโว้เรียกชื่อรูปเคารพว่านางละโว้ เป็นการเรียกตามความคุ้นเคยของชาวบ้านเอง กล่าวคือในพื้นที่ชุมพวง ชาวบ้านจะเรียก นางละโว้ น าพื้นที่อ าเภออื่นหากมีหารพบรูปเคารพสตรีชาวบ้านอาจเรียกรูปเคารพนั้นว่า นางอรพิม ตามตำนานปาจิต-อรพิม 3) ชาวบ้านได้ทราบข้อสันนิษฐานชื่อ ละโว้ ฉบับบ้านละโว้ ชาวบ้านเล่าว่ามาจากภาษาถิ่นโคราช " โว้เว้ละโว้ละเว้" หมายถึงโหวงเหวงไม่รู้จะท าประการใดมืดแปดด้าน เป็นข้อความพูดของตัวละครในเรื่องปาจิต-อรพิม อยู่ในฉากตอนหนึ่งที่นางอรพิมเดินทางรอนแรมในป่า 4) ชาวบ้านได้ทราบประวัติรูปเคารพนางละโว้ โดยรูปเคารพที่ชาวบ้านพบนั้นมี 3 องค์ องค์หนึ่งมีเพียงส่วนลำตัว ชาวบ้านได้มอบให้ทางการ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย เป็นรูปแบบศิลปะยุคนครวัด ส่วนรูปเคารพนางละโว้องค์ที่ 2-3 ชาวบ้านเล่าว่าถูกโจรกรรมสูญหายไปนานแล้ว เมื่อกาลเวลาผ่านใน คนที่เคยเห็นเคยฟังเรื่องราวของนางละโว้ต่างถ่ายทอดลักษณะรูปทรงองค์นางละโว้องค์ที่หายไปตามความทรงจำของตนเอง ชาวบ้านบางคนเล่าว่านางละโว้สวมมงกุฏ บางคนเล่าว่านางละโว้มีกระบังหน้า บางคนเล่าว่านางละโว้มีผมยาวพาดมาเบื้องหน้า มือข้างหนึ่งถือดอกบัว มืออีกข้างที่หักถือคัมภีร์ บางคนบอกว่ามือหนึ่งถือดอกบัวแต่อีกข้างไม่แน่ใจ เมื่อเทียบรูปสลักศิลปะขอมอื่นๆพบว่ารูปสตรีที่มือถือดอกบัวข้างหนึ่ง และมือถือคัมภีร์อีกข้างหนึ่งตรงตามลักษณะของนางปรัชญาปารมิตา เมื่อชาวบ้านเห็นรูปนางปรัชญาปารมิตาศิลปะยุคบายน ชาวบ้านหลายคนยืนยันว่าคล้ายมาก น่าจะเป็นแบบที่ใช่ แต่ชาวบ้านหลายคนยังไม่แน่ใจ อย่างไรก็ตามชาวบ้านได้ทำรูปเคารพนางละโว้ขึ้นจากความทรงจำและพลังศรัทธา 5) รูปจำลองนางละโว้องค์ที่ 1 ชาวบ้านสร้างไว้ที่ศาลหลังหมู่บ้านจะเป็นรูปสตรีสวมมงกุฏ ส่วนรูปนางละโว้ องค์ที่ 2 ที่ชาวบ้านสร้างไว้ที่ศาลโรงเรียนบ้านละโว้ เป็นรูปสตรีมีกระบัง ผมยาว มือข้างหนึ่งถือดอกบัว ส่วนองค์ที่ 3 ชาวบ้านละโว้ได้วางแผนการจะสร้างไว้ที่วัดบ้านละโว้ ชาวบ้านได้ประชุมเลือกแบบผสมผสาน คือช่วงลำตัวทำตามแบบนางละโว้องค์ที่อยู่พิพิธภัณฑ์ฯ นางละโว้องค์ที่ 3 จะมีกระบังหน้า มือหนึ่งถือดอกบัว มืออีกข้างถือคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาตามลักษณะของพระนางปรัชญาปารมิตา 6) ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของนางละโว้และลักษณะของรูปนางละโว้ที่ชาวบ้านสร้าง คือนิมิตรรูปตามความทรงจำ ตามพลังศรัทธา เพื่อสร้างถาวรวัตถุเคารพสักการะบูชายึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นการสืบสานเรื่องราวของนางละโว้ให้คงอยู่คู่กับท้องถิ่น 7) ในการทำกิจกรรมนิสิตเอกไทยได้เรียนวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นปาจิต-อรพิม นอกห้องเรียน ฟังเรื่องเล่านางละโว้ซึ่งเป็นบางช่วงบางตอนของปาจิต-อรพิม เป็นความรู้ที่จะนำไปพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้นิสิตมีทักษะที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น เข้าใจกระบวนการเก็บข้อมูลภาคสนาม เรียนรู้จากคนท้องถิ่น 8) การเก็บข้อมูลของนิสิตในการฟัง การสัมภาษณ์ชาวบ้านละโว้ การเก็บข้อมูลเรื่องนางละโว้ตามหลักฐานประติมากรรม ตามหลักฐานรูปเคารพ การทำกิจกรรมบริการวิชาการแก่ชุมชน ทั้งหมดนี้ทำให้นิสิตได้ความรู้ ประสบการณ์ ได้ทำความเข้าใจว่า นางละโว้ นางอรพิม และนางปรัชญาปารมิตาคือใคร? 9) เรื่องราวของนางละโว้ แห่งบ้านละโว้ อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา นอกจากจะท าให้นิสิตได้พัฒนาตนเอง พัฒนาความรู้ นิสิตจะทำประโยชน์ให้ชุมชนด้วยการรวบรวม เรียบเรียง ข้อมูล เขียนบท วางแผนทำโครงการทำคลิปสั้น ตัดต่อคลิปสั้น เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้มอบให้ชุมชน เพื่อเผยแพร่ผ่านสื่อสังคม เป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชนตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
ปัญหา-อุปสรรค
เป็นช่วงฤดูฝน ทำให้ต้องเดินทางอย่างระมัดระวัง ทั้งการเดินทางด้วยยานพาหนะ และการเดินเท้า ร้านอาหารบางร้านที่รับประทางอาหารกลางวันเกิดถังแก๊สรั่ว ทำให้ทำอาหารให้คณะผู้เข้าร่วมโครงการล่าช้า เพิ่มเวลารอคอยรับประทานอาหารนานกว่าปกติ แต่ท้ายสุดก็ผ่านไปสำเร็จผลตามเจตจำนงค์ สายไฟฟ้าที่พาดผ่านเสาไฟฟ้าในชุมชนทำให้รถสูงเช่นรสบัสผ่านไม่ได้ คณะทำงานต้องเดินเท้าสู่จุดหมาย ขลุกขลักเล็กน้อยเพราะทางเดินในหน้าฝนเป็นดินโคลน ต้องเดินอย่างระมัดระวัง แต่ทุกอย่างก็ชื่นมื่น ทุกคนตื่นเต้น สนุกสนาน มีพลังในการทำงานเชิงบวกตามสภาพที่ต้องเผชิญ
ข้อเสนอแนะ
การลงพื้นที่พบปะกับชาวบ้าน พูดคุยกับชาวชุมชน เป็นสิ่งที่ดีต่อการสร้างภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชิงบวก ชาวบ้านมีความเชื่อมั่นชื่นชมในการทำงานของคณะจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒอย่างมาก บางคนถึงกับปรารถว่าต้องการส่งลูกหลานให้เข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โครงการในลักษณะลงพื้นที่จึงควรได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เป็นทั้งการบริการวิชาการแก่ชุมชน ชุมชนได้ประโยชน์ เป็นการสร้างภาพลักษณ์แต่หน่วยงาน ตัวอาจารย์และนิสิตที่เข้าร่วมโครงการมีความกระตือรือล้นในการทำงาน ช่วยกันแก้ไขปัญหาหน้างานได้เป็นอย่างด
เอกสารแนบ
เพิ่มเอกสารอ้างอิง
ผู้รายงานผล
ญานิศา ลากูล
โทร
16280 , 16206
วัน/เวลาแก้ไขล่าสุด
16 สิงหาคม 2567 10:47