ระบบติดตามยุทธศาสตร์ (SWU-SAP)
เข้าสู่ระบบ
โครงการคณะมนุษยศาสตร์
ย้อนกลับ
พิมพ์
ลบโครงการ ติดต่อส่วนแผนและยุทธศาสตร์
ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการเสริมสร้างทัศนคติและทักษะพื้นฐานต่อความเป็นนักจิตวิทยา
ปีงบประมาณ
2567
ความสอดคล้องแผนยุทธศาสตร์
แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570
P1-31 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิต มศว ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (SWU DNA) ครอบคลุม 7 Competency และสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (SWU SMART STUDENTS)
งบประมาณสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์
P1-31
ความสอดคล้อง SDG
ดูเพิ่มเติม
งบประมาณ
แหล่งงบประมาณ
ประเภทงบประมาณ
งบประมาณที่ได้รับ
งบประมาณที่ใช้จริง
รวม
ใช้จริง
ไตรมาส 1
ไตรมาส 2
ไตรมาส 3
ไตรมาส 4
{{ budget.BudgetSource.budget_source }}
{{ budget.BudgetSource.title }}
{{ budget.expense | numeral }}
เลือกแหล่งงบประมาณ
{{ source.BudgetSource.budget_source }} - {{ source.BudgetSource.title }}
รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม
สถานะการดำเนินโครงการ
แล้วเสร็จ
กำลังดำเนินการ
ชะลอ
ไม่ดำเนินการ
ยกเลิก
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ตั้งแต่
ถึง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อชี้แจงข้อมูลสำคัญของหลักสูตรและคณะที่เป็นประโยชน์สำหรับนิสิตหลักสูตรปกติ และนิสิตในโครงการพิเศษชั้นปีที่ 1 เกี่ยวกับรายวิชา หลักสูตร การลงทะเบียนเรียน แผนการศึกษาและเปิดโอกาสให้นิสิตสอบถามข้อสงสัยต่าง ๆ อย่างทั่วถึง 2. เพื่อสร้างการตระหนักรู้และเกิดทัศนคติทางบวกต่อการเป็นนักจิตวิทยาที่ดี ทราบข้อมูลเกี่ยวทักษะพื้นฐานที่จำเป็นของนักจิตวิทยา รวมถึงขอบเขตอาชีพที่ใช้ศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาในอนาคต 3. นำผลประเมินการจัดโครงการไปพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้นิสิตมีทักษะที่พึงประสงค์ดีขึ้น
ตัวชี้วัดโครงการ
เพิ่มตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ
นิสิตชั้นปีที่ 1 / บุคลากรสายวิชาการกับสาบปฏิบัติการ / วิทยากร
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เป้าหมาย
คน เข้าร่วมจริง
คน
ร้อยละ {{ projectMaster.attendee_percent | numeral }}
สรุปผลดำเนินงาน
ในช่วงแรกของโครงการจะเป็นการที่คณาจารย์หลักสูตรจิตวิทยาและอาจารย์ที่ปรึกษา อธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของหลักสูตร วท.บ. จิตวิทยา แนวทางการเรียนและกิจกรรมต่าง ๆ ของการศึกษาตลอดหลักสูตรเพื่อให้นิสิตเกิดความเข้าใจสามารถปรับตัวในการศึกษาและเกิดความมุ่งมั่นในการมีวินัยในการเรียนเพื่อให้ได้ความรู้และทักษะตามศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาอย่างเต็มที่ ในช่วงที่สองของโครงการจะมีการแบ่งกลุ่มนิสิตเพื่อแยกไปเข้าร่วมกิจกรรมในลักษณะของฐานกิจกรรมเพื่อสัมมนาเพื่อสร้างทัศนคติและทำกิจกรรมเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นสำหรับการเป็นนักจิตวิทยาด้านการให้คำปรึกษาและจิตวิทยาพัฒนาการ เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะของการเป็นนักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและนักจิตวิทยาพัฒนาการในเบื้องต้น สาขางานที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการให้คำปรึกษาจิตวิทยาพัฒนาการ และให้นิสิตลองทำกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเป็นผู้ให้คำปรึกษา (Counselor) และเป็นผู้รับคำปรึกษา (Counselee) รวมถึงการสะท้อนให้เห็นถึงข้อมูลลักษณะประชากรของประเทศไทยและของโลกในปัจจุบันว่ามีลักษณะบุคคลแต่ละช่วงวัยอย่างไร มีความหลากหลายอย่างไร และนิสิตควรเตรียมตัวอย่างไรในการปรับตัวและเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนสังคม สำหรับฐานที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาคลินิกและสุขภาพจิตก็จะมีกิจกรรมสำคัญ เช่น การให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดและแนวทางเบื้องต้นในการพิจารณาเกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตและการดูแลสุขภาพจิต อาชีพของการเป็นนักจิตวิทยาคลินิก มีการทดลองทดลองทำกิจกรรมเกี่ยวกับการใช้แบบวัดทางด้านจิตวิทยาที่ไม่ซับซ้อนเพื่อให้นิสิตเห็นภาพรวมในเบื้องต้นเกี่ยวกับการเรียนและการทำงานด้านจิตวิทยาที่จะต้องมีการวัดและประเมินผลต่าง ๆ ในส่วนของฐานที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาอุตสาหกรรมและการบริหารงานบุคคล วิทยากรจะให้ความรู้และทักษะทางด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ขอบเขตงานด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ การแก้ปัญหาและการพัฒนาบุคลากรในองค์การ มีการทดลองสวมบทบาท (role play) การสัมภาษณ์งานและลองคัดเลือกบุคคลกรจากข้อมูลสมมติ ซึ่งการให้ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการเรียนจิตวิทยาและจิตวิทยาสาขาต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไปในข้างต้นมีความเกี่ยวข้องกับการเรียนในรายวิชา จต101 จิตวิทยาพื้นฐาน โดยมีการบูรณาการกับเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับขอบเขตเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านจิตวิทยาและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในสาขาจิตวิทยาต่าง ๆ รวมถึงทักษะพื้นฐานทางด้านจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ การรับรู้ การแสดงออกและการปรับตัวของบุคคล
ปัญหา-อุปสรรค
เนื่องจากข้อจำกัดด้านสถานที่ทำให้ต้องแบ่งนิสิตภาคพิเศษและภาคปกติในช่วงแรกที่เป็นการอธิบายโครงสร้างหลักสูตร แนวทางการเรียนและกิจกรรมต่าง ๆ ของหลักสูตรแยกออกจากกับเป็น 2 ห้อง ซึ่งอาจทำให้มีการเสียเวลาและขาดโอกาสให้นิสิตของหลักสูตรทั้งภาคปกติและภาคพิเศษได้มีโอกาสทำความคุ้นเคยกัน แต่จะมีการคละนิสิตในการทำกิจกรรมสัมมนาเพื่อสร้างทัศนคติและกิจกรรมเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นสำหรับการเป็นนักจิตวิทยาในช่วงที่ 2 แทน นิสิตต้องย้ายสถานที่ทำกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้เนื่องจากข้อจำกัดด้านขนาดของห้องเรียนอาคาร 38 (ห้อง 801 901 และ 1001) ทำให้นิสิตต้องรอลิฟต์และขึ้นลงบันไดหนีไฟจึงอาจขาดความสะดวกในการเปลี่ยนห้องตามฐานการเรียนรู้
ข้อเสนอแนะ
อาจมีการวางแผนการใช้สถานที่และขอใช้สถานที่ให้มีความเหมาะสมกับจำนวนนิสิตโดยลดการเคลื่อนย้ายนิสิตระหว่างห้องต่าง ๆ เพื่อลดการเสียเวลาและลดปัญหาความไม่สะดวกจากการเปลี่ยนห้องตามฐานการเรียนรู้
เอกสารแนบ
เพิ่มเอกสารอ้างอิง
ผู้รายงานผล
ญานิศา ลากูล
โทร
16280 , 16206
วัน/เวลาแก้ไขล่าสุด
16 สิงหาคม 2567 09:37