ระบบติดตามยุทธศาสตร์ (SWU-SAP)
เข้าสู่ระบบ
โครงการคณะมนุษยศาสตร์
ย้อนกลับ
พิมพ์
ลบโครงการ ติดต่อส่วนแผนและยุทธศาสตร์
ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการบริการวิชาการภาษาญี่ปุ่นจากพี่สู่น้อง
ปีงบประมาณ
2567
ความสอดคล้องแผนยุทธศาสตร์
แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570
P1-31 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิต มศว ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (SWU DNA) ครอบคลุม 7 Competency และสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (SWU SMART STUDENTS)
P1-34 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการสนับสนุนและเสริมสร้างนิสิตจิตอาสา และส่งเสริมให้นิสิตบูรณาการองค์ความรู้สู่การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์แก่สังคม
P1-37 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม/แนะแนว/การประกอบอาชีพสำหรับนิสิต
P3-14 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการบูรณาการการบริการวิชาการเพื่อสังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน
P3-18 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาเครือข่าย/ความร่วมมือภายนอกมหาวิทยาลัยด้านพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคม
งบประมาณสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์
P3-14
ความสอดคล้อง SDG
ดูเพิ่มเติม
งบประมาณ
แหล่งงบประมาณ
ประเภทงบประมาณ
งบประมาณที่ได้รับ
งบประมาณที่ใช้จริง
รวม
ใช้จริง
ไตรมาส 1
ไตรมาส 2
ไตรมาส 3
ไตรมาส 4
{{ budget.BudgetSource.budget_source }}
{{ budget.BudgetSource.title }}
{{ budget.expense | numeral }}
เลือกแหล่งงบประมาณ
{{ source.BudgetSource.budget_source }} - {{ source.BudgetSource.title }}
รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม
สถานะการดำเนินโครงการ
แล้วเสร็จ
กำลังดำเนินการ
ชะลอ
ไม่ดำเนินการ
ยกเลิก
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ตั้งแต่
ถึง
วัตถุประสงค์
1 เพื่อบริการวิชาการแก่ผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษา ก่อให้เกิดการศึกษาที่เท่าเทียม 2 เพื่อบริการวิชาการมีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม 3 เพื่อให้นิสิตมีโอกาสนำความรู้และทักษะทางภาษาในสาขาวิชาที่เรียนไปใช้ปฏิบัติงานจริง และบูรณาการเข้ากับการเรียนรายวิชา 4 เพื่อให้นิสิตตระหนักถึงความสำคัญของทักษะการสื่อสารในภาษาที่ตนเรียนรู้ 5 เพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านวิชาการของหลักสูตรและคณะให้แก่ผู้เรียนในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ 6 เพื่อนำผลประเมินการจัดโครงการไปพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้นิสิตมีทักษะที่พึงประสงค์ดีขึ้น
ตัวชี้วัดโครงการ
เพิ่มตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียน นิสิต อาจารย์
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เป้าหมาย
คน เข้าร่วมจริง
คน
ร้อยละ {{ projectMaster.attendee_percent | numeral }}
สรุปผลดำเนินงาน
อบรมเชิงปฏิบัติการ โดยนิสิตเป็นผู้ให้การอบรม บริการวิชาการภาษาญี่ปุ่นให้แก่น้องระดับมัธยมศึกษา และให้ข้อมูลการสอบคัดเลือกเข้าสาขาภาษาญี่ปุ่น มศว รายวิชาในสาขาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น กิจกรรมการเรียน การสอน ทุนแลกเปลี่ยนไปศึกษา ณ ประเทศญี่ปุ่น และทุนสนับสนุนการศึกษาภายในไทยจากบริษัทญี่ปุ่นฯ ทั้งนี้ จะนำผลประเมินการจัดโครงการไปพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้นิสิตมีทักษะที่พึงประสงค์ดีขึ้น และจะนำเสนอรายละเอียดการจัดโครงการไปพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนไว้ใน มคอ.5 ของรายวิชา ภญป485 หลักสูตรและการสอนภาษาญี่ปุ่น ประจำภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 และ/หรือจะนำไปพัฒนา มคอ.3 ของรายวิชา ภญป321 ภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น ประจำภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2566
ปัญหา-อุปสรรค
เมื่อเข้าปีงบประมาณใหม่ราวเดือนตุลาคม จะเป็นระยะเวลาเริ่มติดต่อประสานงานโครงการของทางสาขาวิชากับทางโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งตรงกับช่วงเริ่มปิดภาคการศึกษาของโรงเรียนมัธยม หากไม่ใช่โรงเรียน ที่มีวัฒนธรรมการทำงานที่ติดต่องานได้แม้อยู่ในช่วงปิดเทอม จะติดต่อประสานงานกับคุณครูได้ค่อนข้างลำบาก ทำให้ที่ผ่านมาต้องมีการเปลี่ยนโรงเรียนเนื่องจากไม่สามารถทราบตารางสอนของทางโรงเรียนล่วงหน้าได้จนกว่าจะเริ่มทำงานเมื่อเปิดเทอมอีกครั้ง นอกจากนี้เมื่อใกล้ถึงกำหนดออกไปปฏิบัติการบริการวิชาการที่โรงเรียน ทางสาขาวิชาและโรงเรียนต่างติดต่อขอเปลี่ยนกำหนดการจัดโครงการเนื่องจากมีกิจกรรมหรืองานที่ไม่ได้กำหนดไว้แต่เดิมเข้ามา ซึ่งช่วงที่ออกไปปฏิบัติการบริการวิชาการนี้เดิมกำหนดตรงกับช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอนของภาคการศึกษาต้นต่อกับช่วงสอบปลายภาคของทาง มศว และเมื่อเลื่อนกำหนดเป็นวันที ่ 8 ธันวาคม 2566 แล้ว ยังได้รับแจ้งภายหลังว่าเป็นวันใกล้กับวันสอบ TGAT TPAT (9-11 ธันวาคม และ 16 ธันวาคม 2566) โดยนักเรียนมัธยมปลายจะต้องใช้คะแนนเพื่อคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2567 และต่อมา สพฐ. ประกาศให้ช่วง 4-8 ธันวาคม 2566 เป็นวันเตรียมสอบโดยไม่นับเป็นวันขาดเรียนได้ โดยประกาศลงวันที ่ 1 ธันวาคม 2566 จะเลื่อนจัดโครงการก็ลำบากเพราะจะพ้นช่วงระยะเวลาเรียนของภาคต้น จะเห็นได้ว่าภาคการศึกษาต้น การจัดวันเวลาเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างนิสิต มศว และนักเรียนมัธยมปลายมีสะดวกตรงกันน้อยมาก ในปีการศึกษาหน้าอาจต้องลองปรับการเปิดสอนของรายวิชานี้ให้อยู่ในภาคการศึกษาปลาย เพื่อให้เวลาการจัดโครงการสอดคล้องกับความสะดวกของโรงเรียนมัธยมศึกษามากขึ้น แต่สำหรับการจัดโครงการในปีนี้ สุดท้ายก็ผ่านพ้นปัญหาไปได้ด้วยดี ทางโรงเรียนกรุณาสำรวจจำนวนนักเรียนที่ประสงค์เข้าร่วมกิจกรรมอีกครั้ง และพบว่านักเรียนประสงค์เข้าร่วมกิจกรรมตามกำหนดเดิม
ข้อเสนอแนะ
การจัดโครงการครั้งนี้ได้ออกไปบริการวิชาการภาษาญี่ปุ่นเกี่ยวกับหัวข้อไวยากรณ์ การดำเนินโครงการครั้งต่อไปเนื้อหาที่นำไปบริการวิชาการอาจปรับให้เป็นทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่นักเรียนให้ความสนใจอย่างมาก และหากมีข้อมูลของนักเรียนที่ละเอียดมากกว่านี้มาประกอบการออกแบบการสอนจะเป็นเรื่องที่ดีอย่างมาก อีกทั้งการจัดโครงการในครั้งนี้เป็นในลักษณะให้นิสิตทุกคนออกไปบริการวิชาการ ณ โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งเดียวกัน หากเป็นไปได้ในครั้งหน้า อาจให้นิสิตได้ออกไปบริการวิชาการให้แก่โรงเรียนในเขตกรุงเทพฯคนละสถานศึกษากัน อาจไปในบริเวณใกล้มหาวิทยาลัยหรือใกล้บ้านของนิสิต หรือโรงเรียนเดิมของนิสิต เพื่อสร้างเครือข่ายได้มากขึ้น ประกอบกับเป็นการฝึกนิสิตในขั้นตอนประสานงานกับสถานศึกษาภายนอกเพื่อเป็นการเตรียมตัวนิสิตในการทำงานจริงได้อีกประการหนึ่ง
เอกสารแนบ
เพิ่มเอกสารอ้างอิง
ผู้รายงานผล
ญานิศา ลากูล
โทร
16280 , 16206
วัน/เวลาแก้ไขล่าสุด
16 มีนาคม 2567 21:14