ระบบติดตามยุทธศาสตร์ (SWU-SAP)
เข้าสู่ระบบ
โครงการคณะมนุษยศาสตร์
ย้อนกลับ
พิมพ์
ลบโครงการ ติดต่อส่วนแผนและยุทธศาสตร์
ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการสร้างสรรค์ปันสุขด้วยวรรณกรรมสำหรับเด็ก
ปีงบประมาณ
2566
ความสอดคล้องแผนยุทธศาสตร์
แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570
P1-24 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิต มศว ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (SWU DNA) ครอบคลุม 7 Competency และสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (SWU SMART STUDENT)
P3-13 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์แนวปฏิบัติในการบูรณาการการบริการวิชาการเพื่อสังคมกับการเรียนการสอน
งบประมาณสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์
P3-13
ความสอดคล้อง SDG
ดูเพิ่มเติม
งบประมาณ
แหล่งงบประมาณ
ประเภทงบประมาณ
งบประมาณที่ได้รับ
งบประมาณที่ใช้จริง
รวม
ใช้จริง
ไตรมาส 1
ไตรมาส 2
ไตรมาส 3
ไตรมาส 4
{{ budget.BudgetSource.budget_source }}
{{ budget.BudgetSource.title }}
{{ budget.expense | numeral }}
เลือกแหล่งงบประมาณ
{{ source.BudgetSource.budget_source }} - {{ source.BudgetSource.title }}
รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม
สถานะการดำเนินโครงการ
แล้วเสร็จ
กำลังดำเนินการ
ชะลอ
ไม่ดำเนินการ
ยกเลิก
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ตั้งแต่
ถึง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นิสิตได้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวรรณกรรมสำหรับเด็กเพื่อสร้างสรรค์เรื่องราวในการสร้างพลังบวกให้กับเด็กที่ต้องเผชิญความยากลำบากในสภาวะต่างๆ 2. เพื่อบูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชา วด203 ความรู้ทั่วไปด้านการศึกษาสำหรับเด็กและวด 213 การอ่านและวิเคราะห์วรรณกรรมสำหรับเด็ก 1 3. เพื่อให้นิสิตได้รับประสบการณ์ในสร้างสรรค์นิทานรูปแบบไฟล์เสียงเพื่อใช้เผยแพร่ในสื่อออนไลน์ 4. เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจในการบริการวิชาการที่สร้างความตระหนักและเห็นคุณค่าของวรรณกรรมสำหรับเด็กที่มีต่อการพัฒนาเด็กและสังคม 5. นำผลประเมินการจัดโครงการไปพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้นิสิตมีทักษะที่พึงประสงค์ดีขึ้น
ตัวชี้วัดโครงการ
เพิ่มตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ
บุคลากรสายวิชาการ นิสิต วิทยากร
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เป้าหมาย
คน เข้าร่วมจริง
คน
ร้อยละ {{ projectMaster.attendee_percent | numeral }}
สรุปผลดำเนินงาน
จัดบรรยายออนไลน์จำนวน 2 วัน ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 เรื่อง ความสำคัญของนิทานในการเสริมสร้างพลังบวกให้กับเด็ก และ การแต่งเรื่องและการวาดภาพประกอบนิทานสำหรับเด็กเพื่อใช้ในการจัดทำไฟล์นิทานเสียงโดย วิทยากร : นางสาวสุวิมล เมธาวัชรินทร์ และในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 เรื่อง ศาสตร์การละครประยุกต์ในการใช้เสียงเพื่อจัดทำนิทานรูปแบบไฟล์เสียงสำหรับเด็ก โดย วิทยากร : อาจารย์ญาณี เหล่าวิริยะรัตน์ ลาฟฟึ่น หลังการบรรยายนิสิตลงมือแต่งนิทานและปรับปรุงนิทานรายบุคคล จากนั้นจึงคัดเลือกนิทานที่เหมาะสมในการเผยแพร่และอัดไฟล์เสียงนิทานเป็นเวลา 7 วัน ใช้เวลาเผยแพร่ไฟล์นิทานเสียงให้ครูและผู้ปกครองใช้กับเด็กในโรงเรียนพระราม 9 กาญจนาภิเษก เป็นเวลา 9 วันก่อนเก็บผลการใช้ไฟล์นิทานเสียงที่เผยแพร่ ทั้งนี้ จะนำผลประเมินการจัดโครงการไปพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้นิสิตมีทักษะที่พึงประสงค์ดีขึ้น และจะนำเสนอรายละเอียดการจัดโครงการไปพัฒนา มคอ. 3 ของรายวิชา CL 213 การอ่านและวิเคราะห์วรรณกรรมสำหรับเด็ก ประจำภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2566
ปัญหา-อุปสรรค
1. ระยะเวลาในการเผยแพร่ตามโครงการกำหนดเป็นระยะเวลาที่สั้นเกินไป การติดตามผลไฟล์นิทานเสียงควรให้เวลาครูและผุ้ปกครองในการใช้ไฟล์เสียงยาวขึ้น หากต้องการผลที่ตรงและสอดคล้องกับการใช้งานจริง เนื่องจากระยะเวลาในภาคการศึกษาที่ไม่ตรงกันระหว่างมหาวิทยาลัยและโรงเรียนทำให้ช่วงเผยแพร่นิทานเป็นช่วงที่ทางโรงเรียนเปิดภาคการศึกษาใหม่ได้ไม่นาน เด็กๆในห้องเรียนต้องปรับตัวในการทำกิจวัตรประจำวัน คุณครูต้องใช้เวลาในการดูแลให้เด็กปรับตัวในการมาโรงเรียน ทำให้มีเวลาในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการได้จำกัด ต่างจากภาคการศึกษาที่ผ่านมาที่มีเวลาในการจัดในช่วงที่เด็กปรับตัวในการมาโรงเรียนได้แล้ว แต่ด้วยเงื่อนเวลาของนิสิตที่ไม่ต้องการให้จัดโครงการเกินเวลาปิดภาคเรียนนานเกินไป ทำให้เกิดผลดังกล่าว 2. การบริการวิชาการโดยทำกิจกรรมต่อเนื่องจากนิทานจะช่วยให้ใช้ไฟล์เสียงได้เต็มประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองที่ต้องการกิจกรรมร่วมกับลูกมากขึ้น แต่การทำกิจกรรมลักษณะนั้นจะเป็นการทำโครงการในระยะที่ยาว ซึ่งจำเป็นต้องมีระยะเวลาในการเปิดเรียนของทั้งสองสถาบันตรงกันเพิ่อความสะดวกในการจัดกิจกรรม
ข้อเสนอแนะ
1. วางแผนการจัดกิจกรรมแบบผสมผสานและพร้อมปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ โดยมีการเพิ่มเติมการวางแผนให้เด็กและผู้ปกครองได้มีกิจกรรมร่วมกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ปกครอง 2. ปรับปรุงวิธีในการอัดเสียและอำนวยความสะดวกการอัดเสียงเพิ่มเติมให้นิสิตกลุ่มที่แก้ไขปัญหาเสียงแทรก หรือเสียงที่อัดไม่ชัดเจนไม่ได้ 3. ปรับปรุงองค์ประกอบของไฟล์นิทานเสียงให้มีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้นการนำสู่เนื้อเรื่องก่อนเริ่มเรื่อง และมีการทิ้งท้ายเพื่อบอกว่านิทานได้จบแล้ว
เอกสารแนบ
เพิ่มเอกสารอ้างอิง
ผู้รายงานผล
ญานิศา ลากูล
โทร
16280 , 16206
วัน/เวลาแก้ไขล่าสุด
19 สิงหาคม 2566 13:38