ระบบติดตามยุทธศาสตร์ (SWU-SAP)
เข้าสู่ระบบ
โครงการคณะมนุษยศาสตร์
ย้อนกลับ
พิมพ์
ลบโครงการ ติดต่อส่วนแผนและยุทธศาสตร์
ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะทางเทคโนโลยีสู่โลกดิจิทัล
ปีงบประมาณ
2566
ความสอดคล้องแผนยุทธศาสตร์
แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570
P1-24 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิต มศว ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (SWU DNA) ครอบคลุม 7 Competency และสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (SWU SMART STUDENT)
งบประมาณสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์
P1-24
ความสอดคล้อง SDG
ดูเพิ่มเติม
งบประมาณ
แหล่งงบประมาณ
ประเภทงบประมาณ
งบประมาณที่ได้รับ
งบประมาณที่ใช้จริง
รวม
ใช้จริง
ไตรมาส 1
ไตรมาส 2
ไตรมาส 3
ไตรมาส 4
{{ budget.BudgetSource.budget_source }}
{{ budget.BudgetSource.title }}
{{ budget.expense | numeral }}
เลือกแหล่งงบประมาณ
{{ source.BudgetSource.budget_source }} - {{ source.BudgetSource.title }}
รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม
สถานะการดำเนินโครงการ
แล้วเสร็จ
กำลังดำเนินการ
ชะลอ
ไม่ดำเนินการ
ยกเลิก
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ตั้งแต่
ถึง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนานิสิตให้มีทักษะการใช้แอปพลิเคชันที่จำเป็นในการทำงานทั่วไป 2. เพื่อให้นิสิตมีคุณลักษณะตามวิสัยทัศน์ของคณะมนุษยศาสตร์ 3. เพื่อเตรียมความพร้อมให้นิสิต เพื่อก้าวเข้าสู่โลกแห่งการทำงาน 4. นำผลประเมินการจัดโครงการไปพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้นิสิตมีทักษะที่พึงประสงค์ดีขึ้น
ตัวชี้วัดโครงการ
เพิ่มตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ
บุคลากรสายวิชาการ/ นิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 - 3/ วิทยากร
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เป้าหมาย
คน เข้าร่วมจริง
คน
ร้อยละ {{ projectMaster.attendee_percent | numeral }}
สรุปผลดำเนินงาน
เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 รอบ รอบละ 12 ชั่วโมง โดยวิทยากรจากภายนอก จำนวน 2 คน คนละ 6 ชั่วโมง ในหัวข้อเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลใน Internet และการใช้ Google Trend เพื่อประมวลผลข้อมูลทางสถิติ การใช้งาน MS-Powerpoint และ Canva และ หลักการออกแบบพื้นฐานด้าน Artwork โดยเป็นการบรรยายสลับกับการปฏิบัติจริงตามโจทย์ที่นิสิตได้รับ มีวิทยากรคอยให้คำแนะนำระหว่างที่่นิสิตแก้โจทย์ และมีการสรุปประเด็นการอบรมเมื่อจบการอบรมในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ จะนำผลประเมินการจัดโครงการไปพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้นิสิตมีทักษะที่พึงประสงค์ดีขึ้น และจะนำเสนอรายละเอียดการจัดโครงการไปจะนำไปพัฒนา มคอ. 3 ของรายวิชา LCC493 ประจำภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2566
ปัญหา-อุปสรรค
1. ค่าตอบแทนวิทยากร ไม่จูงใจ เมื่อเป็นการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีค่าตอบแทนวิทยากรเพียงครึ่งหนึ่งของการบรรยาย ทำให้มีวิทยากรที่เป็นตัวเลือกน้อยลงและส่วนใหญ่ต้องอาศัยการรู้จักเป็นการส่วนตัวเป็นสำคัญ 2. การอบรมต้องใช้เวลามาก หากต้องการให้เกิดผลลัพธ์จริง ทำให้มีค่าใช้จ่ายด้านค่าอาหารและอาหารว่างเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเกิดปัญหารายวิชานัดเรียนชดเชยตรงกับวันจัดอบรม ทำให้นิสิตกังวลว่าตนเองจะขาดเรียน 3. นิสิตไม่เห็นความสำคัญหรือไม่เห็นความจำเป็นของเรื่องที่จัดอบรม ทำให้ต้องจูงใจด้วยชั่วโมงกิจกรรม หรือบังคับให้เข้าร่วมกิจกรรม 4. นิสิตที่เข้าร่วมโครงการตอบแบบประเมินโครงการเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อย
ข้อเสนอแนะ
1. ไม่ควรจัดการอบรมในลักษณะนี้ในรูปแบบโครงการอีกต่อไป เนื่องจาก สิ้นเปลืองงบประมาณ, บริหารจัดการได้ยาก, และ เอื้อให้เกิดวัฒนธรรมการระบุเอกสารไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เช่นเรื่องค่าตอบแทนวิทยากร ที่จัดอบรมปฏิบัติการแต่ระบุว่าเป็นการบรรยาย เพื่อให้สามารถกำหนดค่าตอบแทนวิทยากรที่สูงขึ้นได้ หากต้องการจัดอบรมเพื่อประโยชน์ของนิสิต ควรจัดให้เป็นส่วนหนึ่งในชั่วโมงการจัดการเรียนการสอน โดยเชิญวิทยากรมาเป็นอาจารย์พิเศษ เพื่อให้ได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถระบุได้ตามข้อเท็จจริงว่าเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ และกำหนดให้งานที่มอบหมายเป็นหนึ่งในงานที่เก็บคะแนน เพื่อตัดปัญหาเรื่องการไม่เข้าร่วม การเข้าร่วมไม่ครบ นิสิตมีเวลาว่างไม่ตรงกัน หรือมีการสอนชดเชยในช่วงเวลาที่จัดอบรมได้ และทำให้ไม่ติดกรอบเวลาด้านการเงินที่จะต้องจัดโครงการให้เสร็จสิ้นใน 1 เดือน ทำให้มีเวลาในการพัฒนาทักษะที่ต้องการให้แก่นิสิตได้อย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังประหยัดงบประมาณด้านค่าอาหารและค่าของว่าง อีกด้วย และหากรายวิชากังวลว่าเวลาเรียนจะไม่เพียงพอ สามารถจัดอบรมในรูปแบบ Moodle ให้นิสิตไปศึกษาด้วนตนเอง และส่งผลงานเพื่อเก็บคะแนนในรายวิชานั้นๆ แทน ซึ่งจะประหยัดทั้งเวลาในคาบเรียน และงบประมาณที่จะต้องใช้ 2. พัฒนากลวิธีให้นิสิตผู้เข้าร่วมโครงการตอบแบบประเมินโครงการเป็นจำนวนที่มากขึ้น
เอกสารแนบ
เพิ่มเอกสารอ้างอิง
ผู้รายงานผล
ญานิศา ลากูล
โทร
16280 , 16206
วัน/เวลาแก้ไขล่าสุด
18 พฤษภาคม 2566 14:29