ระบบติดตามยุทธศาสตร์ (SWU-SAP)
เข้าสู่ระบบ
โครงการคณะมนุษยศาสตร์
ย้อนกลับ
พิมพ์
ลบโครงการ ติดต่อส่วนแผนและยุทธศาสตร์
ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมในสังคมนานาชาติ
ปีงบประมาณ
2566
ความสอดคล้องแผนยุทธศาสตร์
แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570
P1-24 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิต มศว ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (SWU DNA) ครอบคลุม 7 Competency และสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (SWU SMART STUDENT)
งบประมาณสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์
P1-24
ความสอดคล้อง SDG
ดูเพิ่มเติม
งบประมาณ
แหล่งงบประมาณ
ประเภทงบประมาณ
งบประมาณที่ได้รับ
งบประมาณที่ใช้จริง
รวม
ใช้จริง
ไตรมาส 1
ไตรมาส 2
ไตรมาส 3
ไตรมาส 4
{{ budget.BudgetSource.budget_source }}
{{ budget.BudgetSource.title }}
{{ budget.expense | numeral }}
เลือกแหล่งงบประมาณ
{{ source.BudgetSource.budget_source }} - {{ source.BudgetSource.title }}
รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม
สถานะการดำเนินโครงการ
แล้วเสร็จ
กำลังดำเนินการ
ชะลอ
ไม่ดำเนินการ
ยกเลิก
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ตั้งแต่
ถึง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นิสิตมีทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพิ่มขึ้น 2. เพื่อให้นิสิตเรียนรู้วัฒนธรรมไทย วิถีชีวิตและผลผลิตท้องถิ่น 3. เพื่อให้นิสิตสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอ Soft Power (อำนาจละมุน) สู่สังคมนานาชาติผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 4 นำผลประเมินการจัดโครงการไปพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้นิสิตมีทักษะที่พึงประสงค์ดีขึ้น
ตัวชี้วัดโครงการ
เพิ่มตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ
บุคลากรสายวิชาการ/ บุคลากรสายปฏิบัติการ/ นิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 3
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เป้าหมาย
คน เข้าร่วมจริง
คน
ร้อยละ {{ projectMaster.attendee_percent | numeral }}
สรุปผลดำเนินงาน
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาเพื่อการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) ได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมในสังคมนานาชาติ ในวันที่ 22 24 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตเรียนรู้วัฒนธรรมไทย วิถีชีวิตและผลผลิตท้องถิ่น และนำความรู้ที่ได้มาเป็นข้อมูลเพื่อนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศที่สามอันจะเป็นการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพิ่มขึ้น โดยนิสิตจะนำเสนอผลงานในรูปแบบวีดีโอของตนสู่สังคมนานาชาติผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เมื่อสิ้นสุดโครงการ โดยในการนี้ นิสิตจะเริ่มจากการเก็บข้อมูลโดยใน 2 วันแรกของโครงการ นิสิตได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย (นาเฮียใช้) ฟังการบรรยายวิธีการทำนา กระบวนการผลิตจนถึงการชมแปลงนาในพื้นที่ ชมอุทยานมังกรสวรรค์โดยมีวิทยากรบรรยายประวัติความเป็นมาและห้องแสดงประวัติศาสตร์ความเชื่อของชาวจีนตลอดจนความสัมพันธ์ไทยจีน ในวันที่2ของโครงการ นิสิตได้เข้าเยี่ยมชมหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย ความสำคัญของควายต่อวิถีชีวิตของชาวนาไทยสมัยก่อน และชมการแสดงของควายไทย จากนั้นนิสิตได้ไปที่ตลาดสามชุกเพื่อเยี่ยมชมสินค้าพื้นบ้านของจังหวัดสุพรรณบุรี และไปชมอุโมงค์ปลาน้ำจืดที่บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ อันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจแห่งหนึ่งของจังหวัดนี้ ในส่วนของกิจกรรมวันที่ 3 เป็นวันสรุปข้อมูลและเปิดโอกาสให้นิสิตได้ร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อเพิ่มทักษะ 3R4Cเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านการสื่อสาร ความสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ และการทำงานร่วมกัน จากนั้นจึงมีการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อสรุปหัวข้อที่ตนเองสนใจ และวางโครงเนื้อหาของวีดีโอที่จะนำเสนอผลงานหลังปิดโครงการ ทั้งนี้ จะนำผลประเมินการจัดโครงการไปพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้นิสิตมีทักษะที่พึงประสงค์ดีขึ้น และจะนำเสนอรายละเอียดการจัดโครงการไปพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนไว้ใน มคอ. 5 ของรายวิชา FRC281 French for Business FRC316 French for Communication VI GMC322 German for Discussion and Presentation KMC316 Khmer for Communication VI และ VNC316 Vietnamese for Communication VI ประจำภาคการศึกษาที่2 ปีการศึกษา2565 และ/หรือจะนำไปพัฒนา มคอ. 3 ของรายวิชา. FRC281 French for Business FRC316 French for Communication VI, GMC322 German for Discussion and Presentation, KMC316 Khmer for Communication VI และ VNC316 Vietnamese for Communication VI ประจำภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2566
ปัญหา-อุปสรรค
ระยะเวลาในการเข้าเยี่ยมชมแต่ละสถานที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้นิสิตที่เข้าร่วมโครงการมีเวลาในการเก็บข้อมูลแต่ละสถานที่ค่อนข้างน้อย และสถานที่ท่องเที่ยวบางที่ไม่ได้เปิดบริการแบบเต็มรูปแบบในวันธรรมดา
ข้อเสนอแนะ
1. เพิ่มเวลาในการเยี่ยมชนสถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่งให้มากขึ้น 2. ติดตามสอบถามนิสิตจำนวนหนึ่งซึ่งประเมินโครงการในหลายขัวข้อในระดับ ปานกลาง, น้อย, น้อยที่สุด ถึงปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการประเมินในระดับดังกล่าว
เอกสารแนบ
เพิ่มเอกสารอ้างอิง
ผู้รายงานผล
ญานิศา ลากูล
โทร
16280 , 16206
วัน/เวลาแก้ไขล่าสุด
18 พฤษภาคม 2566 14:24