ระบบติดตามยุทธศาสตร์ (SWU-SAP)
เข้าสู่ระบบ
โครงการคณะมนุษยศาสตร์
ย้อนกลับ
พิมพ์
ลบโครงการ ติดต่อส่วนแผนและยุทธศาสตร์
ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการ upskill - reskill บูรณาการศาสตร์สู่การพัฒนาทักษะภาษาไทย
ปีงบประมาณ
2566
ความสอดคล้องแผนยุทธศาสตร์
แผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2570
P1-11 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning
P1-45 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิต มศว มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (SWU SMART STUDENT)
P1-62 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมแนะแนวเพื่อความพร้อมในการประกอบอาชีพของนิสิต
P1-64 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมส่งเสริมให้ศิษย์เก่าได้รับการพัฒนาทางด้านวิชการและวิชาชีพ SWU ADP (Upskill/Reskill/New skill)
P1-66 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมส่งเสริมสัมพันธภาพอันดีระหว่างศิษย์เก่ากับมหาวิทยาลัยตลอดจนมีส่วนร่วมในการพัฒนานิสิตปัจจุบันและมหาวิทยาลัย
งบประมาณสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์
P1-62
ความสอดคล้อง SDG
ดูเพิ่มเติม
งบประมาณ
แหล่งงบประมาณ
ประเภทงบประมาณ
งบประมาณที่ได้รับ
งบประมาณที่ใช้จริง
รวม
ใช้จริง
ไตรมาส 1
ไตรมาส 2
ไตรมาส 3
ไตรมาส 4
{{ budget.BudgetSource.budget_source }}
{{ budget.BudgetSource.title }}
{{ budget.expense | numeral }}
เลือกแหล่งงบประมาณ
{{ source.BudgetSource.budget_source }} - {{ source.BudgetSource.title }}
รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม
สถานะการดำเนินโครงการ
แล้วเสร็จ
กำลังดำเนินการ
ชะลอ
ไม่ดำเนินการ
ยกเลิก
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ตั้งแต่
ถึง
วัตถุประสงค์
1 เพื่อให้ศิษย์เก่าและนิสิตปัจจุบันของหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยได้ทบทวนและเพิ่มความรู้จากบูรณาการศาสตร์ทางภาษาไทยแขนงต่าง ๆ 2. เพื่อให้ศิษย์เก่าและนิสิตปัจจุบันของหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยได้ทบทวนและเพิ่มทักษะการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่จะนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครู 3 เพื่อนำผลประเมินการจัดโครงการไปพัฒนาศิษย์เก่าและนิสิตปัจจุบันให้มีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ
ตัวชี้วัดโครงการ
เพิ่มตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ
คณาจารย์ นิสิต ศิษย์เก่า วิทยากร
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เป้าหมาย
คน เข้าร่วมจริง
คน
ร้อยละ {{ projectMaster.attendee_percent | numeral }}
สรุปผลดำเนินงาน
การจัดกิจกรรมโครงการ upskill - reskill บูรณาการศาสตร์สู่การพัฒนาทักษะภาษาไทย เป็นกิจกรรมในรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ วาทการสำหรับครู: เทคนิคและวิธีการสอนในระดับมัธยมศึกษา การอบรมเชิงปฏิบัติการจำแนกเป็น 2 หัวข้อย่อย ดังนี้ (1) หัวข้อ วาทการสำหรับครู: เทคนิคและวิธีการสอนในระดับมัธยมศึกษา โดยมีอาจารย์พรหมมินทร์ ประไพพงษ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาภาษาไทย ศิษย์เก่ารุ่นที่ 9 เป็นวิทยากร การอบรมมุ่งเน้นเทคนิคและวิธีการสอนพูด เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในชั้นเรียนได้จริง การบรรยายมี 4 หัวข้อ ได้แก่ 1) เสียงเพราะ: การวิเคราะห์ปัญหาการออกเสียงและการฝึกออกเสียง 2) พูดคล่อง: กิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนกล้าพูด 3) เนื้อหาดี: การเขียนบทพูดเบื้องต้น 4) บุคลิกภาพดี: การพัฒนาบุคลิกภาพเบื้องต้น ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมโครงการจะฝึกปฏิบัติการพูดในทุก ๆ หัวข้อ (2) หัวข้อ การโค้ชและการฝึกซ้อมการพูด โดยมีอาจารย์กนกวรรณ เชื้อวงษ์ อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนราชวินิตมัธยม บางเขน ศิษย์เก่ารุ่นที่ 11 เป็นวิทยากร การอบรมเน้นสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างนักพูดรุ่นใหม่ระดับมัธยมศึกษา มีข้อหัวบรรยาย 5 หัวข้อ ได้แก่ 1) การคัดเลือกนักเรียนลงแข่งขัน 2) การสร้าง Mind set ในการพูด 3) การวางบทบาทและหน้าที่คนในทีม 4) การบริหารทีม และ 5) จิตวิทยาใน การโค้ช นอกจากนี้วิทยากรยังให้ผู้เข้าร่วมอบรมฝึกปฏิบัติการเป็นกรรมการตัดสินการประกวดพูด โดยให้ผู้เข้าร่วมอบรมนำความรู้จากการอบรมในหัวข้อแรกมาใช้ประกอบการตัดสินใจ ทั้งนี้จะนำผลประเมินการจัดโครงการไปพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้นิสิตมีทักษะที่พึงประสงค์ดีขึ้น และจะนำเสนอรายละเอียดการจัดโครงการไปพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนไว้ใน มคอ. 5 และ มคอ. 3 ในรายวิชาทกศ 352 วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย และทกศ 335 วาทการสําหรับครูต่อไป
ปัญหา-อุปสรรค
-สถานที่จัดโครงการอาจจะไม่เหมาะกับกิจกรรม เนื่องจากเป็นห้องเรียน ทำให้การจัดกิจกรรม หรือจัดสถานที่ทำได้ยาก เพราะกิจกรรมในโครงการมุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ฝึกปฏิบัติจริง -การเปิดรับสมัคร เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายเป็นศิษย์เก่า ซึ่งมีข้อจำกัดในขออนุญาตลาราชการ ดังนั้นการตอบรับเข้าร่วมโครงการจะต้องรออนุมัติจากทางหน่วยงานต้นสังกัด ทำให้ยืนยันการเข้าร่วมโครงการล่าช้า และบางคนไม่สามารถขออนุมัติได้ทัน -ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมตรงกับช่วงการส่งผลการเรียนของโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา ทำให้ศิษย์เก่าที่สนใจไม่สามารถร่วมงานได้ -เมื่อประชาสัมพันธ์โครงการในเพจ Facebook ครูภาษาไทย มศว มีผู้สนใจทั้งศิษย์เก่าและบุคคลทั่วไปที่จะเข้าร่วมกิจกรรม และอยากให้มีการจัดกิจกรรมออนไลน์
ข้อเสนอแนะ
-เปลี่ยนสถานที่จัดโครงการให้เหมาะสมกับกิจกรรมของโครงการ โดยการจองห้องประชุมที่มีขนาดใหญ่และเพียงพอต่อการทำกิจกรรมล่วงหน้า -ประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าก่อนจัดกิจกรรม 1 เดือน และจัดส่งหนังสือเชิญผู้เข้าร่วมโครงการก่อนวันจัดงานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อให้ศิษย์เก่าที่สนใจสามารถขออนุญาตลาราชการได้ทัน -ปรับเวลาช่วงเวลาในการจัดโครงการเป็นสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคม เนื่องจากโรงเรียนส่วนใหญ่ปิดภาคเรียนแล้ว -พิจารณาการจัดกิจกรรมว่าการจัดโครงการครั้งต่อไป สามารถจัดทั้งรูปแบบ Onsite และOnline ได้หรือไม่
เอกสารแนบ
เพิ่มเอกสารอ้างอิง
ผู้รายงานผล
ญานิศา ลากูล
โทร
16280 , 16206
วัน/เวลาแก้ไขล่าสุด
21 มิถุนายน 2566 13:34