ระบบติดตามยุทธศาสตร์ (SWU-SAP)
เข้าสู่ระบบ
โครงการคณะมนุษยศาสตร์
ย้อนกลับ
พิมพ์
ลบโครงการ ติดต่อส่วนแผนและยุทธศาสตร์
ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการส่งเสริมทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การทำงานในโลกดิจิทัล
ปีงบประมาณ
2565
ความสอดคล้องแผนยุทธศาสตร์
แผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2570
P1-11 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning
P1-62 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมแนะแนวเพื่อความพร้อมในการประกอบอาชีพของนิสิต
P1-63 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สู่การพัฒนานวัตกรรม และการจัดตั้ง SWU StartUp สำหรับนิสิต
P1-45 แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิต มศว มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (SWU SMART STUDENT)
งบประมาณสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์
P1-11
ความสอดคล้อง SDG
ดูเพิ่มเติม
งบประมาณ
แหล่งงบประมาณ
ประเภทงบประมาณ
งบประมาณที่ได้รับ
งบประมาณที่ใช้จริง
รวม
ใช้จริง
ไตรมาส 1
ไตรมาส 2
ไตรมาส 3
ไตรมาส 4
{{ budget.BudgetSource.budget_source }}
{{ budget.BudgetSource.title }}
{{ budget.expense | numeral }}
เลือกแหล่งงบประมาณ
{{ source.BudgetSource.budget_source }} - {{ source.BudgetSource.title }}
รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม
สถานะการดำเนินโครงการ
แล้วเสร็จ
กำลังดำเนินการ
ชะลอ
ไม่ดำเนินการ
ยกเลิก
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ตั้งแต่
ถึง
วัตถุประสงค์
1 เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาให้นิสิตมีทักษะและประสบการณ์ทางวิชาการและวิชาชีพ 2 เพื่อบัณฑิตมีคุณลักษณะตามกรอบมาตรฐาน TQF คือมีความรู้ และทักษะปัญญา มีทักษะความสัมพันธ์บุคคล และทักษะทางสังคม อีกทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรมเพิ่มมากขึ้น 3 เพื่อศิษย์เก่าได้ทำประโยชน์ให้แก่สถาบัน โดยนำประสบการณ์การทำงานมาอบรมให้แก่นิสิตปัจจุบัน และเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน คณาจารย์ และสถาบัน 4 เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาให้นิสิตมีทักษะความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัยทันโลกโดยสามารถบูรณาการการสร้างสรรค์เนื้อหา การออกแบบ และการผลิตสื่อเพื่อการสร้างเนื้อหาเผยแพร่ได้จริงในรูปแบบดิจิทัล
ตัวชี้วัดโครงการ
เพิ่มตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ
นิสิต คณาจารย์
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เป้าหมาย
คน เข้าร่วมจริง
คน
ร้อยละ {{ projectMaster.attendee_percent | numeral }}
สรุปผลดำเนินงาน
โครงการส่งเสริมทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การทำงานในโลกดิจิทัล จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21, 28 เมษายน และวันที่ 11-12 พฤษภาคม 2565 โดยในวันที่ 21 เมษายน และ 28 เมษายน 2565 ช่วงเช้าเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการโปรแกรมในการออกแบบโดยวิทยากร คุณณัฏฐิณีย์ แสงงาม ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ โดยให้นิสิตใช้ห้องปฏิบัติการณ์คอมพิวเตอร์ของคณะ เพื่อเรียนรู้และปฏิบัติงานตามวิทยากร และในช่วงบ่าย นิสิตใช้ห้องปฏิบัติการณ์คอมพิวเตอร์ของคณะเพื่อทำงานด้วยโปรแกรมตามที่ได้รับมอบหมายจากวิทยากรโดยทันที เพื่อให้นิสิตเกิดการจดจำและใช้งานโปรแกรมได้ผ่านการปฏิบัติ และในวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 นิสิตได้เดินทางไปเยี่ยมชมโรงพิมพ์ภาพพิมพ์ โดยมีการศึกษาดูงานด้วยการเยี่ยมชมภายในโรงพิมพ์ ในทุกกระบวนการของการพิมพ์ และสุดท้ายในวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 เป็นการบรรยายในเนื้อหาด้านการตลาดดิจิทัล โดยวิทยากร คุณ ยุทธชัย สว่างสมุทรชัย โดยมีการบรรยายทั้งที่คณะมนุษยศาสตร์และถ่ายทอดผ่าน ZOOM ด้วย โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตได้รู้จักการทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นประโยชน์ต่อการนำเสนอผลงาน ได้เรียนรู้สื่อสมัยใหม่และวิธีการนำเสนอสมัยใหม่ เพื่อนำไปใช้ในการปรับตัวในการทำงานในฐานะผู้สร้างสื่อในอนาคต รวมถึงให้นิสิตได้สร้างเสริมประสบการณ์เพื่อเตรียมพร้อมสู่การฝึกประสบการณ์วิชาชีพและการทำงาน ซึ่งลักษณะของการจัดกิจกรรมเป็นการบรรยายและไปศึกษาดูงานโดยวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ จึงได้จัดโครงการเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านการออกแบบสื่อ การสร้างสรรค์เนื้อหา และการเรียนรู้กระบวนการผลิตสื่อร่วมสมัย ควบคู่ไปกับการวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์สื่อในยุคดิจิทัลรูปแบบใหม่ๆ ตามบริบทและสถานการณ์ทางสังคมที่เปลี่ยนแปลง อันเป็นการเพิ่มความหลากหลายในการนำเสนอเนื้อหา ตอบโจทย์เชิงคุณภาพในการใช้องค์ความรู้ที่ได้ศึกษาในสาขาวิชาให้เป็นประโยชน์ ทั้งในด้านทักษะของตัวนิสิตเองและการได้รับใช้สังคม อันเป็นทักษะเพิ่มเติมที่จำเป็นในการทำงานด้านการสร้างสรรค์สื่อสำหรับเด็กและเยาวชนในปัจจุบันให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
ปัญหา-อุปสรรค
นิสิตมีทักษะเบื้องต้นในการใช้โปรแกรมไม่เท่ากัน ทำให้นิสิตบางคนปฏิบัติงานไม่ทันที่วิทยากรสอนและจากสถานการณ์โควิด 19 ที่ทำให้มีนิสิตบางส่วนไม่สะดวกเข้าร่วมกิจกรรม หรือทำให้ต้องมีการปรับกิจกรรมบางส่วนให้กระชับขึ้น
ข้อเสนอแนะ
พิจารณาและวิเคราะห์ความต้องการของนิสิตเพื่อเชิญวิทยากรให้มาบรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อที่สอดคล้องและตรงกับความต้องการของนิสิต โดยเฉพาะการให้นิสิตรุ่นพี่เป็นผู้ช่วยวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการโปรแกรม เพื่อช่วยเหลือนิสิตที่ปฏิบัติตามวิทยากรไม่ทัน และทั้งนี้คาดว่าสถานการณ์โควิด 19 จะดีขึ้นตามลำดับจนกระทั่งนิสิตสามารถเข้าร่วมกิจกรรมในสถานที่ทั้งที่มหาวิทยาลัยและสถานที่ศึกษาดูงานได้ตามปกติ
เอกสารแนบ
เพิ่มเอกสารอ้างอิง
ผู้รายงานผล
ญานิศา ลากูล
โทร
16280 , 16206
วัน/เวลาแก้ไขล่าสุด
25 กรกฎาคม 2565 14:45