ตัวชี้วัด K31 ร้อยละของโครงการที่มีประโยชน์ต่อชุมชนโดยรวม

SSAP 3 การพัฒนางานบริการวิชาการเพื่อร่วมพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน (1 จังหวัด 1 มหาวิทยาลัย) และการสืบสานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ

1 สร้างงานบริการวิชาการ ที่สอดคล้องกับความต้องการ ร่วมกับชุมชนและสังคมอย่าง ยั่งยืน

ผลผลิต

ปีงบประมาณ

               การสำรวจความต้องการของชุมชนหรือภาครัฐหรือภาคเอกชนหรือหน่วยงานวิชาชีพ
เพื่อประกอบการกำหนดทิศทางและการจัดทำแผนการบริการวิชาการตามจุดเน้นของส่วนงาน โดยจะต้องเกิดความร่วมมือด้านบริการทางวิชาการเพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหรือภาคเอกชนหรือภาครัฐหรือหน่วยงานวิชาชีพ การดำเนินโครงการต้องมีการประเมินผลและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ นำผลการติดตามและประเมินผลไปปรับปรุงและพัฒนาโครงการในปีต่อไป และพัฒนาความรู้ที่ได้จากการให้บริการทางวิชาการไปใช้ในการเรียนการสอนและถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน

1. การคำนวณค่าร้อยละของโครงการฯ คิดเฉพาะ โครงการบริการวิชาการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี (เงินอุดหนุนจากรัฐ) งบเงินอุดหนุน (จาก บก.)
2. การนับจำนวนโครงการบริการวิชาการที่ผ่านเกณฑ์ คือ โครงการฯ ต้องผ่านเกณฑ์ 4 ข้อ ใน 5 ข้อ ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1) มีการสำรวจความต้องการของชุมชน หรือภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือหน่วยงาน วิชาชีพเพื่อประกอบการกำหนดทิศทางและการจัดทำแผนการบริการวิชาการตามจุดเน้นของส่วนงาน
2) มีความร่วมมือด้านบริการทางวิชาการเพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน หรือภาคเอกชน หรือภาครัฐ หรือหน่วยงานวิชาชีพ
3) มีการประเมินและติดตามผลในแต่ละโครงการ
4) มีการนำผลการประเมินในข้อ 3 ไปพัฒนาในปีต่อไป
5) มีการพัฒนาความรู้ที่ได้จากการให้บริการทางวิชาการและถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน
3. การวัดได้จากการประเมินติดตามผล ก่อน - หลัง การทำโครงการ

ร้อยละ 85

จำนวนโครงการบริการวิชาการที่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
---------------------------------------------------------------  x  100
จำนวนโครงการบริการวิชาการทั้งหมด

1. รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน

โครงการที่เกี่ยวข้อง

โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชน

โครงการเผยแพร่ผลงานบริการวิชาการแก่ชุมชนทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย