ตัวชี้วัด KPI1-21 ร้อยละของนิสิตที่เข้ารับการพัฒนาสมรรถนะ (Components Literacy) ทั้ง 7 ด้าน ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (SWU SMART STUDENTS)

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเป็นผู้นำทางการศึกษา (Educational Leader)

4.1 การพัฒนาระบบ และกลไกพัฒนาศักยภาพ สมรรถนะของนิสิตสู่การเป็น Global Citizen และพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ สู่การเป็น SWU Start Up ของนิสิต มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ

ปีการศึกษา

               มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีเป้าหมายในการผลิตและพัฒนาบุคคลที่มีคุณภาพและคุณธรรมให้แก่สังคม นำวิชาการที่เป็นเลิศไปใช้บริหารจัดการและประสานการทำงานร่วมกับชุมชนด้วยดี มุ่งเน้นให้นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นคนที่รักชุมชน ติดดิน สุภาพอ่อนน้อม มุ่งมั่นในการทำงานเพื่อส่วนรวม มีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมและศิลปะ มีความสามารถที่หลากหลาย พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่สากล
               สมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (SWU SMART STUDENTS) Components Literacy
สำหรับนิสิต 7 ด้าน ได้แก่
               1. Communication and Language Literacy: ทักษะด้านภาษาและการสื่อสารการพัฒนานิสิตให้มีทักษะในการสื่อสารทั้งในการสื่อสารระหว่างบุคคลการสื่อสารในที่สาธารณะ  ตลอดจนการสื่อสารในระบบโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์สูงสุดในการสื่อสารการปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
               2. Internationalization Literacy: ทักษะการเชื่อมโยงสู่สากลการพัฒนานิสิตให้มีทักษะและคุณภาพที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศหรือพื้นที่มีความรู้ความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ในโลกที่เชื่อมโยงถึงกัน ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน วัฒนธรรม สถาบันและระบบกระแสโลกาภิวัตน์ มุ่งเน้นพัฒนานิสิตให้เป็นพลเมืองของโลก (Global Citizen and Global Talent) คือ รู้จัก หน้าที่ และความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกหนึ่งของโลกที่จะทำให้สังคมมีความสงบสุขและเข้มแข็ง
               ​3. Financial and Entrepreneurial Literacy: ทักษะการบริหารการเงิน/การเป็นผู้ประกอบการการพัฒนานิสิตให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน สามารถวางแผนและบริหารจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในด้านการใช้จ่าย การเก็บออม และการจัดการหนี้สิน ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันทางการเงินที่สำคัญที่จะช่วยเพิ่มพูนความมั่งคั่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัว สามารถรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมั่นคง เช่น การบริหารจัดการหนี้ให้เหมาะกับความสามารถของตน รวมทั้งสามารถตัดสินใจอย่างมีประสิทธิผลที่ตอบสนองความหลากหลายของบริบททางการเงิน เพื่อปรับปรุงความอยู่ดีมีสุขทางการเงินของปัจเจกและสังคม และช่วยให้สามารถมีส่วนร่วมในธุรกิจของระบบเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของประชาชนและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
               ​4. Digital and Innovative Literacy: ทักษะการรับรู้โลกดิจิตอล การใช้เทคโนโลยีการพัฒนานิสิตให้มีทักษะในการนำเครื่องมืออุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ โดยครอบคลุมความสามารถ 4 มิติ คือ การใช้ (Use), ความเข้าใจ (Understand), การสร้าง (Create) และการเข้าถึง (Access) เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
               5. Health Literacy: ทักษะการส่งเสริมสุขภาวะทางกาย ทางใจการพัฒนาศักยภาพความเข้าใจขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาวะสุขภาพอนามัย และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต พัฒนาคุณภาพชีวิต ดำรงตนให้เป็นผู้ที่มีสุขภาวะที่ดี และเหมาะสมกับบุคคลเข้าใจถึงวิธีการป้องกัน การแก้ไข การส่งเสริมสุขภาวะอนามัย ปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากภาวะเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจเฝ้าระวังทางด้านสุขภาพอนามัยทั้งส่วนบุคคลส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งทางสุขภาวะแก่ครอบครัวและชุมชน
               ​6. Science, Environmental and Social Literacyการพัฒนานิสิตให้มีจิตสำนึกที่จะให้ความร่วมมือและปฏิบัติตนในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ดี เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของชุมชนและสังคม มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สภาวการณ์และเงื่อนไขที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลกระทบของสังคมต่อธรรมชาติของโลกสามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ประเด็นปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อมและกำหนดวิธีการป้องกันแก้ไข รวมทั้งการอนุรักษ์รักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ดำเนินบทบาททั้งส่วนบุคคลและบทบาทในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
               ​7. Public Mind: จิตสาธารณะเพื่อสังคมการส่งเสริมคุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลให้มีความพร้อม ความปรารถนาที่จะช่วย แก้ปัญหาอุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น ชุมชน และสังคม ด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้น โดยไม่หวังผลตอบแทน  เป็นผู้ให้และช่วยเหลือผู้อื่นแบ่งปันความสุขส่วนตนเพื่อทําประโยชน์แก่ส่วนรวม อาสาช่วยเหลือสังคม สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90

จำนวนนิสิตระดับปริญญาตรีที่เข้ารับการพัฒนาสมรรถนะสำหรับนิสิต
 -------------------------------------------------------------------------------  x  100
                       จำนวนนิสิตระดับปริญญาตรีทั้งหมด

1. รายงานสรุปผลการเข้ารับการพัฒนาสมรรถนะ (Components Literacy) 7 ด้าน ที่จำเป็นในศตวรรษ
ที่ 21 (SWU SMART STUDENT)

โครงการที่เกี่ยวข้อง

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับระบบสารสนเทศบันทึกผลการพัฒนานิสิต (ด้านอัตลักษณ์นิสิต มศว มีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ และสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (SWU SMART STUDENTS)

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการสนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรนิสิตมีความเข้มแข็ง มีภาวะผู้นำและมีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัย

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการสนับสนุนและเสริมสร้างนิสิตจิตอาสา และส่งเสริมให้นิสิตบูรณาการองค์ความรู้สู่การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์แก่สังคม

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ/ภาคเอกชนที่ร่วมกิจกรรมแนะแนว/การประกอบอาชีพของนิสิต

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม/แนะแนว/การประกอบอาชีพสำหรับนิสิต