ตัวชี้วัด KPI1-03 จำนวนหลักสูตรที่ได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานระดับนานาชาติ

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเป็นผู้นำทางการศึกษา (Educational Leader)

1.1 พัฒนาหลักสูตร เพื่อตอบสนองทิศทาง การพัฒนาประเทศ

ปีการศึกษา

               การพัฒนาคุณภาพหลักสูตรเพื่อให้ได้รับการรับรองคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานระดับนานาชาติ
ถือเป็นความท้าทายที่สำคัญของมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาหลักสูตรด้วยเกณฑ์มาตรฐานระดับสูง ทั้งนี้มุ่งหวังที่จะผลิตบัณฑิตที่พร้อมด้วยศักยภาพ และมีสมรรถนะตรงตามที่ผู้ใช้บัณฑิตต้องการ โดยเกณฑ์มาตรฐานเพื่อการรับรองคุณภาพของหลักสูตรในระดับนานาชาติ หลักสูตรสามารถเลือกใช้ได้ระบบใดระบบหนึ่ง ขึ้นกับนโยบายและข้อกำหนดของแต่ละวิชาชีพ โดยเกณฑ์มาตรฐานระดับนานาชาติที่ถูกนำมาใช้ในหลักสูตรต่างๆ เช่น
​               - ASEAN University Network – Quality Assurance (AUN-QA) เป็นเกณฑ์รับรองคุณภาพที่จัดทำขึ้นโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยในอาเซียน เพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน
​               - World Federation for Medical Education (WFME) เป็นระบบรับรองคุณภาพหลักสูตรระดับสากล สำหรับด้านแพทยศาสตร์ศึกษา ซึ่งแพทยสภาได้นำมาใช้กับคณะแพทยศาสตร์ทั้งหมดของประเทศไทย
​               - Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET) เป็นระบบการรับรองคุณภาพระดับสากล สำหรับหลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และคอมพิวเตอร์
​               - The Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) เป็นระบบรับรองคุณภาพระดับสากล สำหรับหลักสูตรด้านบริหารธุรกิจ เป็นต้น

หลักสูตรที่ได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานระดับนานาชาติ ระบบใดระบบหนึ่ง ในปีการศึกษานั้นๆ

ไม่น้อยกว่า 2 หลักสูตร

1. รายงานสรุปจำนวนหลักสูตรที่ได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานระดับนานาชาติ
ระบบใดระบบหนึ่ง

โครงการที่เกี่ยวข้อง

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรให้ได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานระดับนานาชาติ

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมหลักสูตรเพื่อรับการประเมินระดับนานาชาติตามเกณฑ์ AUNQA/ABET

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการประเมิน Pre-assessment เพื่อขอรับรองหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐาน AUNQA อาเซียน

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการประเมินเพื่อขอรับรองหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐาน AUNQA อาเซียน