ภาคผนวก ประเด็นยุทธศาสตร์ SSAP 3 การพัฒนางานบริการวิชาการเพื่อร่วมพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน (1 จังหวัด 1 มหาวิทยาลัย) และการสืบสานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ
เป้าประสงค์ ลำดับที่ คำอธิบาย
เป้าประสงค์ 1 ภาคผนวก 3-1 ตัวชี้วัด K30 ร้อยละของโครงการหรือกิจกรรมบริการวิชาการและวิชาชีพที่ตอบสนองความต้องการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
ต่อจำนวนโครงการทั้งหมด
  - การคำนวนค่าร้อยละคิดเฉพาะโครงการบริการวิชาการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี (เงินอุดหนุนจากรัฐ) งบเงินอุดหนุน (จาก บก.)
  - โครงการบริการวิชาการที่จัดทำทั้งหมดต้องผ่านเกณฑ์ดังต่อไปนี้
    1. มีการสำรวจความต้องการของชุมชน หรือภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือหน่วยงานวิชาชีพเพื่อประกอบการกำหนดทิศทางและการจัดทำแผนการบริการวิชาการ
       ตามจุดเน้นของหน่วยงาน
    2. มีความร่วมมือด้านบริการทางวิชาการเพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน หรือภาคเอกชน หรือภาครัฐ หรือหน่วยงานวิชาชีพ
    3. มีการประเมินและติดตามผลในแต่ละโครงการ
    4. มีการนำผลการประเมินในข้อ 3 ไปพัฒนาในปีต่อไป
    5. มีการพัฒนาความรู้ที่ได้จากการให้บริการทางวิชาการ นำไปใช้ในการเรียนการสอนและถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน
*** ต้องผ่านเกณฑ์ 4 ใน 5 ข้อ ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด K31 วัดได้จากการประเมินติดตามผล ก่อน - หลัง การทำโครงการ
เป้าประสงค์ 2 ภาคผนวก 3-2 ตัวชี้วัด K32 จำนวนโครงการที่มีกระบวนการในการให้บริการแก่สังคมผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น ตามแนวตัวชี้วัด
   1. กำหนดชุมชนหรือองค์การเป้าหมายของการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม โดยมีความร่วมมือระหว่างคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า
   2. จัดทำแผนและดำเนินการตามแผนบริการวิชาการโดยมีส่วนร่วมจากชุมชนหรือองค์การเป้าหมายที่กำหนดในข้อ 1
   3. เกิดผลกระทบเชิงบวกตาม Tripple Bottom Line (เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม)
   4. ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายมีแผนการพัฒนาเป็นของตนเองและมีการดำเนินการตามแผน
   5. สถาบันสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการพัฒนาชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย
*** ต้องผ่านเกณฑ์ 4 ใน 5 ข้อ
ภาคผนวก 3-3 SSAP3-06 การพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนอย่างคุ้มค่าและส่งเสริมการขอผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมการพัฒนาระบบบริหารโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน ให้ครอบคลุม
   1. วงจร PDCA
   2. การพัฒนาบุคลากรงานบริการวิชาการแก่ชุมชนให้มีความสามารถในการบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
   3. สนับสนุนบุคลากรให้ใช้ผลงานด้านรับใช้สังคมในการขอตำแหน่งทางวิชาการ